เครื่องกฐิน


รับบริการจัดเครื่องสังฆภัณฑ์อย่างถูกต้องตามพิธีกรรมและพระธรรมวินัย
**********

www.s-sangkapan.com   E-mail: [email protected]
๑๐๓/๑๐ ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทร. / โทรสาร. (๐๒) ๖๒๒ - ๓๑๗๓ , โทร. (๐๘๕) ๘๓๒ - ๒๔๒๔ 




ผ้าไตรจีวรควรจัดซื้อ ๓ ไตร สำหรับเป็นผ้ากรานกฐินและพระคู่สวดอปโลกน์กฐิน
 

บาตรสำหรับเป็นบริวารกฐินที่ควรจัดไว้ในเครื่องกฐิน
 

เครื่องกฐินคืออาสนะพนักพิงสร้างไว้ประจำวัดเป็น
ที่ระลึกสำหรับการทอดกฐินประจำปี
 

การถวายอาสนะพนักพิงอานิสงส์คือการได้
รับฐานะหรือตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต
 



ผลงานตาลปัตรที่ระลึกงานทอดกฐินของกองทัพเรือ
 


ตาลปัตรที่ระลึกงานทอดกฐินรูปดอกสาละ
 


ตาลปัตรที่ระลึกงานทอดกฐินสัญลักษณ์รูปกวางหมอบเคียงข้างกงล้อธรรมจักร
 




ตาลปัตรที่ระลึกงานทอดกฐินสัญลักษณ์การตรัสรู้
 



ผลงานทำย่ามงานกฐินกองทัพเรือ



ชุดหมอนอิง - อาสนะ สำหรับพระสงฆ์ปูนั่ง
 
   
   
   



พานแว่นฟ้าและที่ครอบผ้าไตรองค์กฐิน
 




พานแว่นฟ้าประดับลายมุกอย่างประณีต
 


ที่นอนพระ
 


หมอนหนุน
 



ผ้าเช็ดตัว

 

รองเท้า

 

ผ้าห่มนอน
 
 

   



                            ผ้าห่มพระประธาน
 

ปิ่นโต
 
        


                               ร่ม
 



 
ต้นกฐิน - ไม้เสียบเงินบริจาค
 

ต้นโพธิ์สำหรับทำพุ่มกฐิน
 




สัปทน
 


ธงรูปนางมัจฉา  - รูปจระเข้

เครื่องกฐิน (เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์)

 


เครื่องกฐิน (เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์)

 


เสื่อยาว 8 เมตร - 10 เมตร (ปูในศาลา)
 


         
                                 เสื่อพับ
 



มุ้ง
 

                         ใบอนุโมทนาบัตร
 


ขาตั้งตาลปัตรสีโอ๊ค

ขาตั้งตาลปัตรฝังมุก
 



หม้ออลูมิเนียม
 

       

                    จานข้าว-ช้อนส้อม-แก้วน้ำ
 

กระโถนเซรามิค

 
                     
                       
                        กระโถนเคลือบ
                       
 


ชุดกาน้ำชา
 

 
         
                        กระติกน้ำร้อน
 

   


  เครื่องมือโยธา

 


เทียนปาฎิโมกข์

 




ประเพณีและอานิสงส์การทอดกฐิน
การทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ เป็นประเพณีสำคัญของชาวพุทธมาแต่โบราณกาล ประเพณีการทอดกฐินมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีประวัติความเป็นมาว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา หรือปาวา ๓๐ รูป ล้วนทรงธุดงคคุณ สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีอัธยาศัยชอบอยู่ป่า ท่านเหล่านั้นมีความประสงค์จะเดินทางไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา ครั้นกระชั้นพรรษา มาไม่ถึงตามกำหนด จึงแวะเข้าจำพรรษา ณ เมืองสาเกต ครั้นออกพรรษาปวารณาเสร็จ ยังไม่พ้นเขตวสันตฤดู ภูมิภาคอากูลไปด้วยโคลนตม ไม่เป็นสมัยที่จะสัญจร มีสบงจีวรอันชุ่มชื้นไปด้วยน้ำและโคลน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความลำบากของสาวกเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตกฐินัตถารวินัยกรรมว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่จำพรรษาแล้วกรานกฐินได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายที่กรานกฐินแล้ว จักสำเร็จอานิสงส์ ๕ ประการ" โดยระยะของการกรานกฐินกำหนดตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน๑๒ และปรากฏในตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นผู้ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้ทอดกฐินเป็นคนแรกแก่พระภิกษุชาวเมืองปาฐา หรือปาวา ๓๐ รูปนั้น ส่วนอานิสงส์ของพระภิกษุสงฆ์ผู้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ
๑. อนามนฺตจาโร - เที่ยวไปในตระกูลได้ไม่ต้องบอกลา ตามปกติจะไปในที่อื่นจากที่นิมนต์นั้น ในเวลาก่อนหรือกลับต้องบอกลาภิกษุที่มีอยู่ในวัดนั้นก่อนจึงไปได้
๒. อสมาทานจาโร - เที่ยวไปโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วยก็ได้ ตามปกติวิสัยภิกษุจะไปแรมคืน ณ ที่ใด ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
๓. คณโภชนํ - ฉันคณโภชนะได้ไม่เป็นอาบัติ ตามปกติภิกษุถูกอาราธนาและออกชื่อโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ารับของนั้นมาหรือฉันของนั้นพร้อมกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้วคุ้มอาบัตินี้ได้
๔. ยาวทตฺถจีวรํ - มีจีวรได้ตามต้องการ คือเก็บอติเรกจีวร (จีวรที่เกินจากที่ใช้) ไว้ได้ไม่เป็นอาบัติ
๕. โย จ ตตฺถ จีวรุปฺปาโท โส เนสํ ภวิสฺสติ - จีวรลาภใดที่เกิดแก่สงฆ์ในอาวาสนั้น จีวรลาภที่เกิดขึ้นนั้น จักเป็นของๆ ภิกษุทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว
ในส่วนทานิสสราธิบดี ผู้เป็นใหญ่ในทาน หรือท่านผู้เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ได้มีศรัทธาปสาทะ สละทรัพย์บำเพ็ญมหากุศลอันบุคคลทั่วไปกระทำได้ยาก ชื่อว่าได้ผลานิสงส์อันยิ่งใหญ่มีผลทั้งแก่ตน สังคม ประเทศชาติและพระศาสนา คือ...
๑. ชื่อว่าได้เป็นศาสนทายาท สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
๒. ชื่อว่าได้รักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามไว้มิให้เสื่อมสูญ
๓.ชื่อว่าเป็นการเพิ่มพูนทานบารมี
๔. ชื่อว่าเป็นสร้างความสามัคคีในหมู่พุทธบริษัท
๕. ชื่อว่าเป็นการกำจัดมัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๖. ชื่อว่าเป็นการถวายกำลังแก่พระสงฆ์ผู้ดำรงพระศาสนา
๗. ชื่อว่าเป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
๘. ชื่อว่าเป็นการแปรทรัพย์และทำชีวิตให้เป็นสาระ
๙. ชื่อว่าเป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า
ความพิเศษของบุญกฐิน คือมีข้อแม้และจำกัดหลายประการ เช่น..
๑. จำกัดประเภททาน - ต้องถวายเป็นสังฆทานอย่างเดียว จะเฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้
๒. จำกัดเวลา - มีเวลาสำหรับการทอดกฐินภายในระยะเพียง ๑ เดือน และพระที่รับกฐินแล้วจะต้องครองให้เสร็จภายใน ๑ วัน
๓. จำกัดไทยธรรม - ของถวายต้องเป็นผ้าสำหรับตัดเย็บเป็นจีวรสังฆาฏิ และสบงเท่านั้น (ปัจจุบันหาซื้อผ้าไตรมาถวาย) ของนอกนั้นจัดเป็นบริวารกฐิน
๔. จำกัดผู้รับ - พระที่รับกฐินต้องจำพรรษาในอาวาสนั้น โดยพรรษาไม่ขาดตลอดไตรมาส (สามเดือน) และมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป
๕. จำกัดคราว - ปีหนึ่งทอดกฐินได้ครั้งเดียว และวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินซ้ำซ้อนกันไม่ได้
๔ ส.แห่งบุญทอดกฐิน
การทอดกฐิน จัดเป็นบุญพิเศษ เรียกว่า บุญ ๔ ส.คือ
๑. บุญสละ - สละเวลา น้ำพัก น้ำแรง และน้ำเงิน เพื่อบำเพ็ญกุศล
๒. บุญสามัคคี - พร้อมใจประกอบให้มีขึ้น ด้วยน้ำใจไมตรีอันงาม
๓. บุญศักดิ์ศรี - ได้ประกาศความเป็นพุทธศาสนิกชนคนมีศาสนา
๔. บุญศักดิ์สิทธิ์ - เพราะบุญเป็นที่พึ่ง เป็นกัลยาณมิตร เป็นเงาเฝ้าตามติด เป็นทุนหนุนชีวิตให้รุ่งเรือง





การถวายกฐิน

             นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์

              กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

               การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

 

กลับสู่ด้านบน